HP PC - การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของ PC (Windows 10)
ทำการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพื่อประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ของคุณ
ปรับแต่ง PC ด้วย HP Performance Tune-up Check
ใช้ HP Performance Tune Up Check ใน HP Support Assistant เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณ
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด HP Support Assistant หรือคลิกที่ไอคอนแอพใน
แถบงาน
-
หากเครื่องมือไม่เปิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ให้เลือกอุปกรณ์ของคุณโดยคลิกที่ Troubleshooting and fixes (การแก้ไขปัญหา) จากนั้นคลิกที่ Performance Tune-up Check (ตรวจสอบการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน)
-
ภายใต้ Additional Options (ตัวเลือกเพิ่มเติม) ให้เลือก Empty Recycle Bin (ล้างข้อมูลในถังรีไซเคิล) และ Clean Web-browsers history, cookies and cache (ล้างประวัติ คุกกี้ และแคชของเว็บเบราว์เซอร์) แล้วคลิก Optimize (ปรับให้เหมาะสม)
เพิ่มพื้นที่ว่างในฮาร์ดไดร์ฟ
เพิ่มจำนวนเนื้อที่ที่ยังไม่ได้ใช้งาน (เนื้อที่ว่าง) บนฮาร์ดไดรฟ์เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดพื้นที่ดิสก์เหลือน้อยและปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Storage Settings (การตั้งค่าพื้นที่เก็บข้อมูล)
-
ดูปริมาณเนื้อที่ที่มีอยู่บนฮาร์ดไดรฟ์ (ไดรฟ์ C: ไดรฟ์ทั่วไป)
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไดร์ฟควรมีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 15% หากฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มีเนื้อที่ว่างน้อยกว่า
15% ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
-
จากไดรฟ์ C: ให้เลือกแต่ละหมวดหมู่เพื่อพิจารณาว่าที่ใดที่คุณสามารถเพิ่มพื้นที่ว่างได้มากที่สุด
หมวดหมู่ที่พบได้ทั่วไปที่คุณสามารถเพิ่มพื้นที่ได้คือ
Apps & Games (แอพและเกม) Temporary Files (ไฟล์ชั่วคราว) Documents (เอกสาร) และ Pictures (รูปภาพ)
ข้อควรระวัง:
ฮาร์ดไดรฟ์ RECOVERY (D:) หรือ FACTORY_IMAGE (D:) ที่สงวนไว้สำหรับการกู้คืนระบบและการลบไฟล์จากไดรฟ์เหล่านี้อาจทำให้คอมพิวเตอร์เสียหายได้
-
ย้ายไฟล์ใดๆ ที่คุณต้องการเก็บไว้ในไดรฟ์ USB หรือฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ว่าง
ทั้งนี้ขอแนะนำให้ย้ายไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานทุกวัน
เช่น รูปภาพและวิดีโอ
-
ลบไฟล์และแอพพลิเคชั่นที่ไม่ต้องการ จากนั้นรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์
อัพเดต PC โดยใช้ HP Support Assistant
ใช้ HP Support Assistant เพื่อค้นหาและติดตั้งข้อมูลอัพเดตรวมทั้งข้อมูลอัพเดต BIOS
สำหรับคอมพิวเตอร์ระบบ Windows ของคุณ
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด HP Support Assistant หรือคลิกที่ไอคอนแอพใน
ทาสก์บาร์
-
จากแท็บ My devices (อุปกรณ์ของฉัน) ค้นหาคอมพิวเตอร์ของคุณ จากนั้นคลิก Update (อัพเดต)
-
คลิก Check for updates and messages (ตรวจหาข้อมูลอัพเดตและข้อความ) เพื่อสืบค้นข้อมูลอัพเดตล่าสุด
-
รอให้ HP Support Assistant วิเคราะห์ระบบ
-
หลังจากวิเคราะห์เสร็จสิ้น ให้เลือกข้อมูลอัพเดตที่ปรากฏขึ้น จากนั้นดาวน์โหลดและติดตั้งข้อมูลอัพเดตและทำตามคำแนะนำบนหน้าจอ
-
เมื่อได้รับแจ้งให้ รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ จากนั้นปิดเครื่องมือ
การอัพเดตไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์
ใช้ Device Manager (ตัวจัดการอุปกรณ์) เพื่ออัพเดตไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์ เช่น กราฟิก เสียง
เครือข่ายไร้สาย หรือไดรเวอร์อื่นๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณ
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Device Manager (ตัวจัดการอุปกรณ์)
-
จากรายการ Devices (อุปกรณ์) เลือก แต่ละหมวดหมู่ (เมาส์และอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งอื่นๆ)
-
คลิกขวาที่ อุปกรณ์ (อะแดปเตอร์ไร้สาย) เลือก Update driver (อัพเดตไดรเวอร์) จากนั้นทำตามคำแนะนำเพื่อติดตั้งไดรเวอร์ที่อัพเดตแล้ว
-
รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์เพื่อเสร็จสิ้นการติดตั้งข้อมูลอัพเดต
ล้างข้อมูลในถังขยะ
ล้างข้อมูลในถังขยะเพื่อเพิ่มจำนวนเนื้อที่ที่ยังไม่ได้ใช้งาน (เนื้อที่ว่าง) บนฮาร์ดไดรฟ์
-
จากเดสก์ทอป Windows ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Recycle Bin (ถังขยะ) 
-
หากต้องการเรียกคืนรายการที่ลบโดยไม่ตั้งใจ ให้คลิกขวาที่ไฟล์ จากนั้นเลือก Restore (คืนค่า)
-
คลิกแท็บ Manage (จัดการ) จากนั้นเลือก Empty Recycle Bin (ล้างข้อมูลในถังขยะ)
-
เลือก Yes (ใช่) เพื่อยืนยัน
Windows จะลบข้อมูลในถังรีไซเคิลออกจากฮาร์ดไดรฟ์
การลบไฟล์และไดเรกทอรีชั่วคราว
การลบไฟล์และโฟลเดอร์ชั่วคราวจะเพิ่มเนื้อที่ว่างในฮาร์ดไดรฟ์ และลดเวลาที่ Windows ใช้เพื่อเข้าถึงฮาร์ดไดรฟ์นั้น
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Disk cleanup (ล้างข้อมูลดิสก์)
-
เลือกไดรฟ์ที่คุณต้องการลบไฟล์ จากนั้นคลิก OK (ตกลง)
-
รอสักครู่ในขณะที่ Disk Cleanup (ล้างข้อมูลดิสก์) คำนวณว่าจะทำให้มีเนื้อที่ว่างบนไดรฟ์ที่เลือกได้มากน้อยเพียงใด
-
หลังจากวิเคราะห์เสร็จสิ้น ให้เลือกช่องทำเครื่องหมายติดกับประเภทไฟล์ที่คุณต้องการให้
Disk Cleanup (ล้างข้อมูลดิสก์) ลบ
ข้อควรระวัง:
การเลือกตัวเลือกบางอย่างอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ตัวอย่างเช่น การเลือกไฟล์บันทึกการติดตั้งจะลบไฟล์ที่เจ้าหน้าที่สนับสนุนทางโทรศัพท์ออนไลน์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการตั้งค่า
คลิกที่ประเภทไฟล์ เช่น ไฟล์อินเทอร์เน็ตชั่วคราวเพื่อแสดงรายละเอียด อย่าลบไฟล์จนกว่าคุณทราบไฟล์นั้นที่ไม่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์ของคุณ
-
คลิก OK (ตกลง) จากนั้นคลิก Delete Files (ลบไฟล์) เมื่อได้รับแจ้ง
Disk Cleanup (การล้างข้อมูลบนดิสก์) จะทำการล้างไฟล์ที่เลือก
การตรวจหาข้อผิดพลาดของฮาร์ดไดรฟ์
การตรวจหาข้อผิดพลาดของฮาร์ดไดรฟ์ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบ
-
ปิดแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ที่เปิดอยู่ทั้งหมดบนคอมพิวเตอร์ของคุณ
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด File Explorer (File Explorer) หรือคลิกที่ไอคอนแอพ
บนทาสก์บาร์
-
หลังจาก File Explorer ปรากฏขึ้น ให้คลิกขวาที่ฮาร์ดไดรฟ์ที่ต้องการตรวจสอบ จากนั้นคลิก
Properties (คุณสมบัติ)
-
จากหน้าต่าง Properties (คุณสมบัติ) เลือกที่แท็บ Tools (เครื่องมือ)
-
ภายใต้ การตรวจสอบข้อผิดพลาด ให้คลิก Check (ตรวจสอบ)
หากมีหน้าต่างปรากฏขึ้นเพื่อแจ้งให้คุณสำหรับรหัสผ่านหรือการยืนยันผู้ดูแลระบบ ให้พิมพ์ข้อมูลล็อกอินที่ร้องขอ
-
จากหน้าต่าง Error Checking (การตรวจสอบข้อผิดพลาด) เลือก Scan drive (สแกนไดรฟ์)
-
รอให้ Windows ตรวจสอบข้อผิดพลาดของไดรฟ์ จากนั้นทำตามข้อความที่แจ้งเพื่อแก้ไขปัญหา
หากหน้าต่างปรากฏขึ้นพร้อมกับข้อความ Windows ไม่สามารถตรวจสอบดิสก์ในขณะที่ดิสก์กำลังใช้งาน ให้คลิก Schedule Disk Check (กำหนดเวลาตรวจสอบดิสก์) ทำตามคำแนะนำบนหน้าจอเพื่อรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์และสแกนหาข้อผิดพลาดของไดรฟ์
จัดเรียงข้อมูลบนไดรฟ์ฮาร์ดดิสก์
การจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดไดรฟ์ของคุณ โดยใช้ชุดเครื่องมือ Optimize Drives จะเป็นการปรับฮาร์ดไดรฟ์ให้เหมาะสมและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
ข้อควรระวัง:
ขั้นตอนเหล่านี้ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งไดร์ฟ Solid State (SSD) อย่าจัดเรียงข้อมูล
SSD เนื่องจากไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นและอาจส่งผลเสียต่อไดรฟ์
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Defragment and Optimize Drives (จัดเรียงและปรับปรุงประสิทธิภาพของไดรฟ์) ขึ้นมา
หากการปรับไดรฟ์ให้เหมาะสมที่สุดเริ่มขึ้นซ้ำๆ โปรแกรมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังที่ซ่อนอยู่จะยังคงเข้าถึงฮาร์ดไดรฟ์
รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ในเซฟโหมดและลองอีกครั้ง
-
เลือกไดรฟ์ที่ต้องการปรับ จากนั้นคลิก Optimize (ปรับปรุงประสิทธิภาพ)
-
รอขณะที่เครื่องมือทำการปรับไดรฟ์ กระบวนการนี้อาจใช้เวลาสองสามนาที หรือสองสามชั่วโมง
ขึ้นกับปริมาณข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของคุณ
หากคุณต้องการหยุดการทำงานของเครื่องมือ ให้คลิก Stop (หยุด)
เรียกใช้ Windows Update (Windows 10)
อัพเดตคอมพิวเตอร์ Windows 10 ของคุณโดยใช้ Windows Update
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Check for update (ตรวจหาข้อมูลอัพเดต)
หากมีข้อมูลอัพเดตพร้อมใช้งาน การอัพเดตจะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติ
-
หลังจากติดตั้งข้อมูลอัพเดต ให้รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์เมื่อได้รับแจ้ง
กำจัดไวรัสและสปายแวร์
กำจัดแอดแวร์ สปายแวร์ หรือไวรัสที่อาจติดตั้งในคอมพิวเตอร์
การสแกนหาและลบไวรัสและสปายแวร์ออกจาก PC (Windows 10)
ใช้ Windows Security เพื่อสแกนหาและลบไวรัส สปายแวร์ หรือมัลแวร์อื่นๆ ออกจากคอมพิวเตอร์
-
Quick scan (สแกนแบบเร็ว): ฟังก์ชันสแกนด่วนทำหน้าที่ตรวจสอบตำแหน่งต่าง ๆ ในฮาร์ดไดรฟ์ในจุดที่อาจพบมัลแวร์ได้มากที่สุด
-
Full scan (สแกนทั้งระบบ): การสแกนทั้งระบบเป็นการตรวจสอบไฟล์ทั้งหมดในฮาร์ดไดรฟ์ และแอพพลิเคชั่นทั้งหมดที่ทำงานอยู่
หากคุณสงสัยว่ามีมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์ของคุณ
ให้สแกนแบบเต็ม การสแกนอาจใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงถึงจะเสร็จสิ้น และคอมพิวเตอร์อาจทำงานช้าในระหว่างการสแกน
-
Custom scan (สแกนแบบกำหนดเอง): การสแกนแบบกำหนดเองจะตรวจสอบเฉพาะไดรฟ์และไฟล์คอมพิวเตอร์ที่คุณเลือก
-
Windows Defender Offline scan (การสแกนออฟไลน์ Windows Defender): การสแกนออฟไลน์ Windows Defender จะสแกนตรวจหาการโจมตีแบบรูทคิท
หรือมัลแวร์ที่คงอยู่อย่างยาวนานบนคอมพิวเตอร์ของคุณ
เลือกตัวเลือกนี้เพื่อตรวจสอบมัลแวร์ภายนอกระบบ Windows ปกติ การสแกนอาจใช้เวลา 15 นาที
และคอมพิวเตอร์จะรีสตาร์ทเป็นส่วนหนึ่งของการสแกน
หมายเหตุ:
HP ขอแนะนำให้ใช้การสแกนออฟไลน์ของ Windows Defender หากคุณสงสัยว่าคอมพิวเตอร์ของคุณติดมัลแวร์หรือไวรัส
-
จาก Windows ค้นหาและเปิด Windows Security และจากนั้นเลือก Virus & threat protection (การป้องกันไวรัสและภัยคุกคาม) 
-
คลิก Quick scan (สแกนแบบเร็ว), Scan options (ตัวเลือกการสแกน) หรือ Run an advanced scan (เรียกใช้การสแกนขั้นสูง) จากนั้นเลือกประเภทการสแกนที่ต้องการเรียกใช้
-
หากคุณเลือก Quick scan (สแกนแบบเร็ว) การสแกนจะเริ่มทำงาน
-
หากคุณเลือก Scan options (ตัวเลือกการสแกน) ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อเรียกใช้การสแกนระบบทั้งหมด การสแกนแบบกำหนดเอง
หรือการสแกน Windows Defender
แบบออฟไลน์
-
เลือกตัวเลือกในการสแกนตัวเลือกหนึ่งตัวเลือกใดต่อไปนี้ จากนั้นคลิก
-
หากคุณเลือก Full scan (สแกนทั้งระบบ) การสแกนจะเริ่มทำงาน
-
หากคุณเลือก Custom scan (สแกนแบบกำหนดเอง) ให้เลือกไดรฟ์หรือโฟลเดอร์ที่จะสแกน จากนั้น คลิกเลือก Select Folder (เลือกโฟลเดอร์)
-
หากคุณเลือก Windows Defender Offline scan (สแกน Windows Defender แบบออฟไลน์) ให้บันทึกไฟล์ที่เปิดอยู่ทั้งหมด แล้วคลิก Scan (สแกน) หากหน้าต่าง User Account Control (การควบคุมบัญชีผู้ใช้) ปรากฎขึ้น คลิก Yes (ใช่)
หมายเหตุ:
คอมพิวเตอร์จะรีสตาร์ทเมื่อการสแกนออฟไลน์เสร็จสิ้น
-
รอให้การสแกนเสร็จสิ้น และดูผลการค้นหา
หากคอมพิวเตอร์ของคุณรีสตาร์ทระหว่างการสแกน ให้ค้นหาและเปิด Virus & threat protection (การป้องกันไวรัสและภัยคุกคาม) แล้วคลิก
Protection history (ประวัติการป้องกัน) ระบุรายการภัยคุกคามทั้งหมดที่ Windows Security เคยพบในคอมพิวเตอร์ของคุณ
หมายเหตุ:
สำหรับเวอร์ชันก่อนหน้าของ Windows 10 ให้คลิก Threat history (ประวัติภัยคุกคาม)
-
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่ See full history (ดูประวัติแบบเต็ม)
ค้นหาและเปลี่ยนไฟล์ระบบที่เสียหาย
ใช้ Microsoft System File Checker (SFC) เพื่อซ่อมแซมไฟล์ระบบที่เสียหาย
-
จาก Windows ให้ค้นหา Command Prompt (คอมมานด์พรอมท์)
-
จากผลการค้นหา คลิกขวาที่ Command Prompt (คอมมานด์พรอมท์) เลือก Run as administrator (เรียกใช้ในฐานะผู้ดูแลระบบ) จากนั้นคลิกที่ Yes (ใช่) เพื่อเปิดหน้าต่าง
-
พิมพ์ sfc /scannow อย่าลืมเคาะว่างระหว่าง sfc และ /
-
กดปุ่ม Enter เพื่อเริ่มการสแกน
-
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณต่ออยู่กับเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตที่ใช้งานได้
-
จากหน้าต่างคอมมานด์พรอมท์ ให้พิมพ์ dism.exe /Online /Cleanup-image /Restorehealth อย่าลืมเคาะว่างก่อนหน้า / ทุกตัว
-
กด Enter เพื่อเริ่มการสแกน Deployment Image Servicing and Management (DISM)
-
รอให้เครื่องมือเปลี่ยนไฟล์ที่เสียหาย จากนั้นรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์
เปิดแอพที่จำเป็นเท่านั้น
รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์และเปิดเฉพาะแอพที่คุณต้องการ
-
จาก Windows เลือก Start (เริ่ม) เลือก Power (เปิด/ปิด) จากนั้นเลือก Restart (รีสตาร์ท)
-
หลังจากคอมพิวเตอร์รีสตาร์ท ให้เปิดเฉพาะแอพหรือโปรแกรมที่คุณต้องการ
-
หลังจากเสร็จสิ้นการใช้แอพ ให้คลิกที่ X เพื่อปิดแอพ
การใช้ Program Compatibility Troubleshooter (ตัวแก้ไขปัญหาความเข้ากันได้ของโปรแกรม)
บางแอพที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับ Windows เวอร์ชั่นก่อนหน้าอาจไม่ทำงานตามที่คาดหวังไว้กับ
Windows 10 รุ่นปัจจุบัน
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Troubleshoot (การแก้ไขปัญหา)
-
เลื่อนหน้าจอลง เลือก Program Compatibility Troubleshooter (ตัวแก้ไขปัญหาความเข้ากันได้ของโปรแกรม) จากนั้นคลิก Run the Troubleshooter (เรียกใช้ตัวแก้ไขปัญหา)
-
เลือกแอพที่คุณต้องการตรวจสอบ จากนั้นคลิก Next (ถัดไป)
-
เลือกตัวเลือก จากนั้นทำตามคำแนะนำบนหน้าจอเพื่อทดสอบหรือเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าความเข้ากันได้
ค้นหาแอพที่ใช้ทรัพยากรระบบมากเกินไป
ใช้ Task Manager (ตัวจัดการงาน) เพื่อค้นหาและหยุดกระบวนการหรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้ทรัพยากรระบบมากเกินไป
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Task Manager
Task Manager (ตัวจัดการงาน) จะแสดงแอพพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน
-
คลิก More Details (รายละเอียดเพิ่มเติม) จากนั้นเลือกแท็บสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม
-
Processes (กระบวนการ): แสดงการทำงานทั้งหมดในปัจจุบันและทรัพยากรระบบที่ถูกใช้จากแต่ละกระบวนการ
กระบวนการบางอย่างมีความจำเป็นและไม่ควรปิดการทำงาน
หากไม่แน่ใจว่ากระบวนการใดที่จำเป็น ให้ค้นหารายละเอียดดังกล่าวทางอินเทอร์เน็ต
-
Performance (ประสิทธิภาพ): แสดงการแสดงผลประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ คลิกที่ Open Resource Monitor (เปิดระบบตรวจสอบทรัพยากร) เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับกระบวนการแต่ละส่วน
-
บนแท็บ Processes (กระบวนการ) หากต้องการปิดแอพ หรือหากแอพแสดงเป็น Not Running (ไม่ทำงาน) ให้คลิกที่ End Task (สิ้นสุดงาน)
เลือกแอพเพื่อเปิดขึ้นมาเมื่อ Windows เริ่มทำงาน
โปรแกรมเริ่มต้นคือซอฟต์แวร์ที่จะเปิดเมื่อ Windows เปิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป หลังจากที่คุณมีการติดตั้งโปรแกรมมากขึ้น
คุณจะมีจำนวนโปรแกรมเริ่มต้นมากขึ้น
แอพทั่วไปที่โหลดและทำงานอยู่ในพื้นหลังได้แก่แอพส่งข้อความด่วน (IM) แอพมัลติมีเดีย
ตัวเปิดใช้เกมและแถบเครื่องมือ คุณสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบได้ด้วยการทำให้แอพเหล่านี้บางส่วนหยุดเปิด
หรือด้วยการเปลี่ยนการตั้งค่าของแอพเหล่านี้
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Task Manager
-
คลิก More details (รายละเอียดเพิ่มเติม) จากนั้นเลือกแท็บ Startup (การเริ่มทำงาน)
-
เลือกรายการเริ่มต้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบหรือไม่เป็นที่ต้องการ จากนั้นคลิก Disable (ปิดใช้งาน)
ข้อควรระวัง:
ปิดรายการทำงานเมื่อเริ่มระบบที่คุณทราบหรือที่ไม่ต้องการ
-
รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์
-
หาก Windows หรือซอฟต์แวร์อื่นหยุดทำงานหลังจากปิดรายการการเริ่มทำงาน ให้ย้อนกระบวนการนี้เพื่อเปิดใช้งานรายการดังกล่าว
การปิดคุณสมบัติกราฟิกที่ไม่จำเป็น
การปิดคุณสมบัติกราฟิกและแอพพลิเคชั่นที่ใช้ทรัพยากรระบบเป็นจำนวนมากหรือที่คุณไม่ต้องการหรือไม่จำเป็น
-
ใน Windows ให้ค้นหาและเปิด Adjust the appearance and performance for Windows (ปรับลักษณะการแสดงผลและประสิทธิภาพสำหรับ Windows)
-
จากหน้าต่าง Performance Options (ตัวเลือกประสิทธิภาพ) ให้เลือก Adjust for best performance (ปรับเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด) แล้วคลิก OK (ตกลง)
Windows จะปิดลักษณะการแสดงผลทั้งหมด เช่น แอนิเมชั่นของทาสก์บาร์ และส่วนประกอบของหน้าต่าง
การแสดงเงาของหน้าต่าง การแสดงเนื้อหาของหน้าต่างขณะลากรายการ
เป็นต้น
การป้องกันปัญหาการจัดสรรหน่วยความจำ
แยกแอพหรือกระบวนการที่ไม่ได้ใช้อีกต่อไป ซึ่งอาจใช้ทรัพยากรหน่วยความจำที่ไม่จำเป็น
หน่วยความจำถูกจัดสรรในไดร์เวอร์ของอุปกรณ์และโปรแกรมในระหว่างการใช้งานปกติ หน่วยความจำที่ถูกจัดสรรแล้วจะพร้อมใช้อีกครั้งเมื่อกระบวนการไม่ได้ใช้งาน
ทั้งนี้ บางครั้งหน่วยความจำยังคงถูกจัดสรรไว้อยู่ ซึ่งจะเรียกว่าการรั่วไหลของหน่วยความจำ
ในบางครั้ง โปรแกรมที่เข้ากันไม่ได้อาจยังคงจัดสรรหน่วยความจำขณะทำงาน
ส่งผลให้ระบบทำงานช้าลงและค้างในที่สุด
-
ปิดแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่เปิดอยู่ทั้งหมด ดูให้แน่ใจว่าได้ให้เวลากับแอพเพื่อเปิดอย่างสมบูรณ์ก่อนปิดใช้งาน
HP แนะนำให้รอ 5 วินาทีหลังเปิดแอพก่อนที่จะปิดแอพอีกครั้ง แม้เป็นการเปิดอย่างไม่ตั้งใจก็ตาม
-
รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Task Manager
-
คลิก More details (รายละเอียดเพิ่มเติม) เลือกแท็บ Performance (ประสิทธิภาพ) จากนั้นเลือก Memory (หน่วยความจำ)
-
คลิก Open Resource Monitor (เปิดตัวตรวจสอบทรัพยากร) เพื่อดูว่าคอมพิวเตอร์ของคุณกำลังใช้หน่วยความจำอย่างไร
หากมีหน้าต่างปรากฏขึ้นเพื่อแจ้งให้คุณสำหรับรหัสผ่านหรือการยืนยันผู้ดูแลระบบ ให้พิมพ์ข้อมูลล็อกอินที่ร้องขอ
-
ในแท็บ Overview (ภาพรวม) ให้เปิดส่วน Memory (หน่วยความจำ) แล้วเลื่อนลงเพื่อดูว่าแอพใดที่กำลังใช้หน่วยความจำ
-
เปิดแอพที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง พิจารณาเปอร์เซ็นต์ของ หน่วยความจำจริงที่ถูกใช้งาน จากนั้นจดข้อมูลไว้
-
ปิดและเปิดโปรแกรมที่สงสัยใหม่ซ้ำๆ และตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ของหน่วยความจำจริงที่ถูกใช้งาน
แล้วเปรียบเทียบตัวเลขนี้กับตัวเลขที่จดไว้
ทุกครั้งให้รอประมาณ 10 วินาทีก่อนเปิดโปรแกรมใหม่
-
หากเปอร์เซ็นต์ของหน่วยความจำจริงที่ถูกใช้งานกลับคืนสู่ตัวเลขเดิมหรือใกล้เคียงทุกครั้ง
แสดงว่าโปรแกรมต้องสงสัยนั้นอาจไม่ได้ทำให้หน่วยความจำรั่วไหลอยู่
-
หากเปอร์เซ็นต์ของหน่วยความจำจริงที่ถูกใช้งานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่ากำลังมีหน่วยความจำพร่องหายไป
ให้ติดต่อผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อขอแพตช์หรือวิธีแก้ไขปัญหาที่ใช้ได้
ใช้ ReadyBoost
ใช้ ReadyBoost กับไดรฟ์ที่ถอดออกได้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโดยไม่ต้องเพิ่ม RAM
เพิ่มเติมไปยังคอมพิวเตอร์
-
ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณมีไดรฟ์ที่ถอดออกได้ เช่น USB แฟลชไดรฟ์ ที่มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลสูงและพื้นที่ว่างอย่างน้อย
500 MB
-
ใส่ไดรฟ์ที่ถอดออกได้ในพอร์ตที่เหมาะสมบนคอมพิวเตอร์
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด File Explorer ขึ้นมา
-
จาก File Explorer คลิกขวาที่ไดรฟ์ที่ถอดออกได้ จากนั้นเลือก Properties (คุณสมบัติ)
-
จากหน้าต่าง Properties (คุณสมบัติ) ให้เลือกแท็บ ReadyBoost (ReadyBoost) จากนั้นเลือก ReadyBoost (ReadyBoost)
-
เลื่อนแถบเลื่อนเพื่อกำหนดพื้นที่ที่ต้องการสำรองไว้สำหรับความเร็วในการทำงานของระบบอย่างน้อย
9048 MB เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
-
คลิก OK (ตกลง) เพื่อสงวนพื้นที่ในไดรฟ์ที่ถอดออกได้สำหรับ ReadyBoost และบันทึกการตั้งค่า
จากไดรฟ์ที่ถอดออกได้ พื้นที่ที่สงวนไว้สำหรับ ReadyBoost จะถูกบันทึกไว้ในไฟล์ชื่อ ReadyBoost.sfcache
เปลี่ยนขนาดไฟล์เพจจิ้ง
ไฟล์เพจจิ้งจะอยู่ในฮาร์ดไดร์ฟที่ Windows ใช้ลักษณะเดียวกับหน่วยความจำ การเพิ่มขนาดไฟล์เพจจิ้งจะสามารถช่วยเพิ่มความเร็วให้กับคอมพิวเตอร์และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Control Panel (แผงควบคุม)
-
ในช่อง Search (ค้นหา) ให้พิมพ์ System จากนั้นเลือก System (ระบบ) จากรายการผลการค้นหา
-
เลือก Advanced system settings (ค่าทางระบบขั้นสูง)
-
ใน System Properties (คุณสมบัติระบบ) ให้เลือกแท็บ Advanced (ขั้นสูง) จากนั้นคลิก Settings (การตั้งค่า)
-
จาก Performance Options (ตัวเลือกประสิทธิภาพ) ให้เลือกแท็บ Advanced (ขั้นสูง) จากนั้นคลิก Change (เปลี่ยนแปลง)
-
ลบเครื่องหมายจาก Automatically manage paging file size for all drives (จัดการขนาดไฟล์เพจจิ้งอัตโนมัติสำหรับไดรฟ์ทั้งหมด)
-
เลือก Custom size (ขนาดกำหนดเอง) จากนั้นพิมพ์ขนาดต่ำสุดและสูงสุด ใช้ขั้นต่ำที่อนุญาต ที่แนะนำ และขนาดไฟล์เพจจิ้งที่จัดสรรในปัจจุบันจะแสดงรายการที่ด้านล่างของหน้าต่างเพื่อเลือกขนาด
-
ปิดหน้าต่างระบบ แล้วรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์
การลดความร้อนในเครื่องคอมพิวเตอร์
เมื่ออุณหภูมิภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นเกิน 35º C (95º F) ความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่อส่วนประกอบภายในที่สำคัญจะเพิ่มขึ้น
ลดความเสี่ยงโดยการลดความร้อนภายในคอมพิวเตอร์
ทำความสะอาดช่องระบายอากาศเดสก์ทอป
ทำความสะอาดช่องระบายอากาศเดสก์ทอปเพื่อกำจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่อาจหมักหมมในและรอบๆ
ช่องระบายอากาศเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งเป็นการปิดกั้นการถ่ายเทของอากาศ
และทำให้พัดลมทำงานหนักกว่าปกติในการระบายความร้อน
-
ปิดคอมพิวเตอร์ ถอดสายไฟและสายต่างๆ จากนั้นรอให้คอมพิวเตอร์เย็นลง
-
ใช้เครื่องดูดฝุ่นเพื่อทำความสะอาดช่องระบายอากาศภายนอกทั้งหมดโดยเฉพาะรอบๆ ช่องระบายอากาศของแหล่งจ่ายไฟ
ข้อควรระวัง:
เพื่อป้องกันความเสียหายต่อส่วนประกอบภายใน อย่าใช้เครื่องดูดฝุ่นภายในคอมพิวเตอร์
-
ถอดแผงด้านข้างที่ด้านหลังออกจากคอมพิวเตอร์
-
ใช้ลมอัดกระป๋องเพื่อทำความสะอาดพัดลมและส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์
-
เปลี่ยนแผงด้านข้าง เสียบปลั๊กไฟ และเปิดคอมพิวเตอร์
ทำความสะอาดช่องระบายอากาศโน้ตบุ๊ก
ทำความสะอาดช่องระบายอากาศโน้ตบุ๊กเพื่อกำจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่อาจหมักหมมในและรอบๆ
ช่องระบายอากาศเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งเป็นการปิดกั้นการถ่ายเทของอากาศ
และทำให้พัดลมทำงานหนักกว่าปกติในการระบายความร้อน
-
ปิดคอมพิวเตอร์ ถอดสายไฟและสายต่างๆ จากนั้นรอให้คอมพิวเตอร์เย็นลง
-
ย้ายวัตถุที่อยู่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์ออก
-
ค้นหาช่องระบายอากาศบนแล็ปท็อปของคุณ โดยปกติจะอยู่ที่ด้านล่างและด้านข้างของคอมพิวเตอร์
-
ใช้อากาศอัดกระป๋องเพื่อกำจัดฝุ่นออกจากช่องระบายอากาศ
-
รอให้คอมพิวเตอร์เย็นลงประมาณ 10 นาที
-
เสียบสายไฟอีกครั้ง แล้วเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
อัพเกรดหน่วยความจำ
การอัพเกรดหน่วยความจำที่เข้าใช้งานแบบสุ่ม (RAM) ในคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบได้
เพิ่มความเร็วในการท่องเว็บ
หรือเพื่อให้การเล่นเกมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ค้นหารายละเอียดทางเทคนิคของหน่วยความจำ
ใช้คู่มือการบำรุงรักษาและบริการเพื่อค้นหาข้อมูลหน่วยความจำที่ติดตั้งไว้สำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณ
-
-
เลื่อนลงเพื่อพิมพ์รุ่นคอมพิวเตอร์ของคุณในฟิลด์ Search (ค้นหา) จากนั้นคลิก Submit (ส่ง)
-
เลือก User Guides (คู่มือผู้ใช้) จากนั้นเลือก คู่มือการบำรุงรักษาและบริการ สำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณ
หากไม่มีคู่มือการบำรุงรักษาและบริการปรากฏขึ้น ให้เลือกเอกสารรายละเอียดทางเทคนิคสำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณ
-
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากส่วน Memory (หน่วยความจำ) สำหรับรายการต่อไปนี้:
-
รายละเอียดทางเทคนิคของโมดูลหน่วยความจำ
ข้อควรระวัง:
เมนบอร์ดบางตัวไม่สามารถติดตั้งหน่วยความจำจากผู้ผลิตคนละราย หรือที่มีค่า CAS หรือความหนาแน่นของชิ้นส่วนแตกต่างกัน
ดูให้แน่ใจว่า
SO-DIMM ทั้งหมดจะต้องมีหมายเลขชิ้นส่วนเดียวกันเพื่อให้แน่ใจว่ารองรับการทำงาน
-
หมายเลขชิ้นส่วนโมดูลหน่วยความจำ
-
โปรเซสเซอร์ที่รองรับ
-
ประเภท RAM
-
จำนวนช่องหน่วยความจำ
-
จำนวนหน่วยความจำที่ติดตั้ง
-
หน่วยความจำสูงสุดที่รองรับ
-
ประเภทหน่วยความจำ รวมทั้งความเร็ว
ปิดการซิงค์ไฟล์ OneDrive
ปิดการซิงค์ไฟล์อัตโนมัติระหว่างคอมพิวเตอร์และ OneDrive
-
ในส่วนแจ้งเตือนของทาสก์บาร์ ให้คลิก OneDrive
-
ในตัวเลือก OneDrive ให้คลิกที่ More (เพิ่มเติม)
จากนั้นเลือก Pause Syncing (หยุดซิงค์ชั่วคราว) จากเมนู
-
จากเมนู Pause Syncing (หยุดซิงค์ชั่วคราว) ให้เลือกระยะเวลาที่จะหยุดซิงค์ชั่วคราว
-
เริ่มการทำงานของคอมพิวเตอร์ใหม่
HP PC - การรีเซ็ตคอมพิวเตอร์
คุณสมบัติการรีเซ็ต Windows 10 จะทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่โดยไม่สูญเสียข้อมูลส่วนตัวและการปรับแต่งของคุณ
สำรองไฟล์ข้อมูลส่วนตัวใน PC
สำรองไฟล์ข้อมูลส่วนตัวในคอมพิวเตอร์ Windows 10 ของคุณ
-
ต่อไดรฟ์ต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Backup settings (การตั้งการสำรองข้อมูล)
-
คลิก Add a drive (เพิ่มไดรฟ์) แล้วเลือกไดรฟ์
-
คลิก More options (ตัวเลือกเพิ่มเติม)
-
คลิก Back up now (สำรองข้อมูลทันที) จากนั้นรอให้การสำรองเสร็จ อาจต้องใช้เวลาสองสามนาทีหรือสองสามชั่วโมง
ขึ้นอยู่กับขนาดไฟล์
รีเซ็ต PC (Windows 10)
รีเซ็ตคอมพิวเตอร์โดยการติดตั้ง Windows 10 ใหม่
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Recovery options (ตัวเลือกในการกู้คืน)
-
จากหน้าจอ Recovery (การกู้ข้อมูล) จาก Reset this PC (รีเซ็ต PC เครื่องนี้) คลิกที่
Get started (เริ่มต้น)
-
ทำตามคำแนะนำเพื่อรีเซ็ตคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจต้องใช้เวลาครู่หนึ่ง
กู้คืนไฟล์ส่วนตัวใน PC
กู้คืนไฟล์ข้อมูลส่วนตัวในคอมพิวเตอร์ Windows 10 ของคุณ
-
ต่อไดรฟ์สำรองภายนอกเข้ากับคอมพิวเตอร์
-
จาก Windows ให้ค้นหาและเปิด Backup settings (การตั้งการสำรองข้อมูล)
-
คลิก More options (ตัวเลือกเพิ่มเติม)
-
เลื่อนรายการไปด้านล่างของหน้าจอ Backup options (ตัวเลือกการสำรองข้อมูล) จากนั้นคลิก
Restore files from a current backup (กู้ไฟล์จากข้อมูลสำรองในปัจจุบัน)
-
เลือกไฟล์ที่คุณต้องการกู้คืนโดยคลิกที่ปุ่ม Restore (กู้คืน) จากนั้นรอให้ Windows กู้คืนไฟล์ส่วนตัวของคุณ อาจต้องใช้เวลาสองสามนาทีหรือสองสามชั่วโมง
ขึ้นอยู่กับขนาดไฟล์